April 27, 2024

วิธีการดูแลรักษาระบบประสาท เรื่องน่ารู้ที่คุณไม่ควรมองข้าม !

หลายคนที่กำลังมองว่า “โรคอัลไซเมอร์” คือโรคที่ไกลตัวตัวเองเหลือเกิน อยากให้ลองคิดดูใหม่อีกครั้ง เพราะจากสถิติพบว่าผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2558 มีจำนวนมากถึง 600,000 ราย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเรื่อย ๆ โดยปัจจุบันพบกว่ามีผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า 50 ล้านรายทั่วโลก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทุก 1 วินาที จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1 คน จึงเป็นเหตุผลที่เราได้รวบรวมข้อมูลวิธีการดูแลรักษาระบบประสาทมาบอกต่อคุณในวันนี้ เพราะเราอยากให้คุณมีระบบประสาทที่ดี ไม่หลง ๆ ลืม ๆ อะไรเร็วจนเกินไป แต่จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย

ทำความรู้จักโรคอัลไซเมอร์ ก่อนเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาระบบประสาท

ก่อนอื่นคุณจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโรคอัลไซเมอร์ไม่ใช่แค่หลงลืมเท่านั้น แต่ในระยะยาวอาจส่งผลให้มีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้การดูแลผู้ป่วยกลายเป็นงานหิน เนื่องจากผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวขึ้น และวิธีการดูแลรักษาระบบประสาทก็ไม่อาจจะช่วยอะไรได้มากนัก เนื่องจากจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์หรือคนใกล้ชิดตลอดเวลา ซึ่งอาการโดยทั่วไปของโรคอัลไซเมอร์แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำที่ไม่ดีจนตัวเองรู้สึกได้ เช่น ชอบถามซ้ำ ๆ พูดซ้ำ ๆ เรื่องเดิมบ่อยครั้ง สับสนทิศทาง รวมถึงมีอาการเครียดและหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ แต่ยังสามารถใช้ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้
  • ระยะกลาง อาการป่วยจะเริ่มชัดเจนขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยมีความจำที่แย่ลง เช่น เดินออกจากบ้านแบบไม่มีจุดหมายปลายทาง พูดจาหยาบคาย ก้าวร้าวและอารมณ์ฉุนเฉียว และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันหรือช่วยเหลือตัวเองได้
  • ระยะท้าย อาการป่วยเริ่มแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง หรือแทบจะไม่ตอบสนองเลย แถมสุขภาพก็ยังถดถอยจนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงในที่สุด บวกกับภูมิคุ้มกันค่อย ๆ อ่อนแอ บางคนก็อาจจะมีอาการติดเชื้อร่วมด้วย

6 วิธีการดูแลรักษาระบบประสาท ชะลอความเสื่อมของสมอง

แม้ว่าโรคอัลไซเมอร์จะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่คุณก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะยังมีวิธีการดูแลรักษาระบบประสาท เพื่อชะลอความเสื่อมของสมองได้เช่นกัน แถมยังเริ่มทำได้ตั้งแต่ตอนนี้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง ซึ่ง 6 วิธีที่ว่านั้นจะมีอะไรบ้างไปดูกัน

  1. หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ โดยจะต้องทำควบคู่กับการออกกำลังกายสมองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกคำนวณตัวเลข, การเล่นดนตรีประเภทต่าง ๆ และการเล่นเกมลับสมองเพื่อฝึกความจำ
  2. ออกกำลังกาย จะช่วยลดความเครียดของคุณได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดได้อีกด้วย โดยหลัก ๆ จะเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ วันละ 20 – 30 นาที และทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 วันต่อสัปดาห์
  3. ทานอาหารบำรุงสมอง ซึ่งจำเป็นจะต้องเน้นไปที่อาหารจำพวกธาตุเหล็กต่าง ๆ รวมถึงวิตามิน บี 12, วิตามิน เอ, วิตามิน ซี, วิตามิน อี และซีลีเนียม
  4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนับหลักพักผ่อนที่ดีจะต้องไม่เกิน 22.00 – 23.00 น. ของทุกวัน และยังจะต้องนอนหลับให้ได้อย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน ในเคหสถานที่เงียบสงบ ปราศจากเสียงรบกวน เพื่อให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  5. การเข้าสังคม ควรพาตัวเองออกไปพบปะผู้คนเพื่อพูดคุย หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ ไม่ควรเก็บตัวอยู่เงียบ ๆ เพื่อเป็นการยืดอายุของสมอง ซึ่งต้องบอกก่อนว่าไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานเลี้ยงเสมอไป อาจจะไปเดินเล่นตามสวนสาธารณะหรือสถานที่ที่คนพลุกพล่านก็ได้
  6. ตรวจเช็กความดันโลหิตบ่อย ๆ เนื่องจากความดันโลหิตเป็นชนวนสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อสมองโดยตรง โดยจะต้องลดหรือเลิกกิจกรรมที่มีผลต่อความดันโลหิตด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่, การดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติดทุกชนิด

แม้ว่าโรคอัลไซเมอร์จะไม่ได้มีอาการที่รุนแรงตั้งแต่เริ่มต้น แต่ก็ถือว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง ถ้าหากคุณไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับโรคนี้ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ก็หมั่นศึกษาและทำตามวิธีการดูแลรักษาระบบประสาทอยู่เสมอ เพื่อเป็นการสร้างเกราะป้องกันให้กับสมองและระบบประสาท หากในท้ายที่สุดคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ แต่ก็อาจจะทำให้อาการร้ายแรงทุเลาลงบ้างสักเล็กน้อยก็ยังดี