April 27, 2024

อย่ามองข้ามอาการ กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ เพราะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรค “ต่อมทอนซิลอักเสบ”

โดยปกติแล้วหากเราเกิดอาการเจ็บคอขึ้นมา ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตนเองเป็นไข้หวัด หรืออาจจะเกิดจากภาวะพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งหากมีอาการ หรือเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา จะสามารถหายได้ด้วยตนเอง แต่หากคุณมีอาการเจ็บคอ หรือกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ และไม่สามารถหายไปได้ง่ายเหมือนไข้หวัด ถึงแม้จะกินยาก็ยังไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น นี่ถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณขอการบ่งบอกโรค “ทอนซิลอักเสบ” ดังนั้นหากคุณปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน อาจจะก่อให้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นได้เลยทีเดียว

กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ มีความเสี่ยงเป็นต่อมทอนซิลอักเสบหรือไม่

ต่อมทอนซิลจะเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ที่จะมีหน้าที่คอยกำจัดเชื้อโรคในลำคอของเราไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารของร่างกาย ซึ่งต่อมทอนซิลสามารถพบได้หลายตำแหน่งในช่องปาก แต่เมื่อใดที่ต่อทอนซิลเกิดความผิดปกติ ไม่ว่าจะเกิดจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียก็ตาม จะกลายเป็นภาวะของต่อมทอนซิลอักเสบ

สำหรับต่อมทอนซิลอักเสบนั้น จะสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง อีกทั้งยังสามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย ในส่วนของอาการต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมทอนซิลจะบวมแดง และมีขนาดที่ใหญ่มากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีเยื่อสีขาวขึ้นปกคลุม ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ป่วยเป็นต่อมทอนซิลอักเสบมักจะมีไข้สูง หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการอาเจียนหลังรับประทานอาหารร่วมด้วย

วิธีการรักษาโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

ในส่วนของขั้นตอนและวิธีการรักษานั้น ปกติแล้วแพทย์จะทำการรักษาตามอาการของผู้ป่วย อย่างเช่น ให้ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ และบรรเทาอากาศกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก หรือยาลดไข้ ทั้งยังให้ยาแก้อักเสบ เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดต่อมทอนซิลอักเสบ แต่หากแพทย์พบว่าต่อมทอนซิลอักเสบเกิดจากไวรัส จะให้ยารักษาตามอาการนั้น ๆ เนื่องจากยาต้านจุลชีพจะไม่สามารถใช้ในการกำจัดเชื้อไวรัสได้

อีกทั้งผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองด้วยการดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บคอสูง จึงทำให้ดื่มน้ำได้น้อย พักผ่อนให้มาก ๆ รวมทั้งการรับประทานอาหารที่มีรสอ่อน ๆ อย่างเช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม แต่จะต้องไม่ร้อนจนเกินไป ที่สำคัญคุณจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัดหรือรสเผ็ด และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ แต่ในกรณีของผู้ที่มีอาการป่วยในขั้นรุนแรง แพทย์จะให้นอกพักที่โรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเหลือ รวมทั้งยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ เพราะหากคุณไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และกระจายเป็นวงกว้างจนเกิดหนอง และลุกลามไปถึงปอดและหัวใจได้เลยทีเดียว

หากมีอาการต่อมทอนซิลอักเสบบ่อย ๆ จะเกิดความอันตรายถึงชีวิตหรือไม่

เชื่อว่าบางท่านจะต้องพบเจอกับปัญหาต่อมทอนซิลอักเสบบ่อย ๆ อย่างแน่นอน เพราะถ้าหากเกิดต่อมทอนซิลอักเสบบ่อย ๆ จะทำให้ต่อมทอนซิลมีขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น จนเปลี่ยนสภาพเป็นต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังได้เลย ทั้งยังมีภาวะต่อมทอนซิลอักเสบแบบเฉียบพลัน หรือเป็น ๆ หาย ๆ ได้ และการที่ต่อมทอนซิลมีขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น จะทำให้เศษอาหารเข้าไปตกค้างอยู่ด้านในได้ ดังนั้นจะทำให้เกิดการอักเสบแบบเรื้อรังออกไป จนสุดท้ายคุณจะต้องเข้ารับการผ่าตัดในที่สุด สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์จะพิจารณาว่าควรเข้ารับการผ่าตัด จะมีลักษณะดังนี้

  • พิจารณาจากระยะเวลาของการอักเสบ อย่างเช่น มีอาการต่อมทอนซิลอักเสบปีละ 2 – 3 ครั้ง และจะต้องดูว่าต่อมทอนซิลอักเสบแต่ละครั้งจะมีอาการรุนแรงมากเพียงใด
  • ผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิลขนาดใหญ่จนเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ
  • ผู้ป่วยที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคคอตีบ

โดยปกติแล้วอาการของโรคต่อมทอนซิลจะไม่รุนแรงเท่าไหร่นัก เพราะส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้ และกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอเพียงเท่านั้น และยังสามารถรักษาให้หายได้ แต่คุณจะต้องเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาจากทีมแพทย์ เพื่อที่จะรักษาได้อย่างทันท่วงที แถมยังเป็นตัวช่วยป้องกันการเกิดต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังอีกด้วย เพราะฉะนั้นคุณจะต้องรู้จักสังเกตตนเองว่า มีอาการเหล่านี้หรือไม่ เพื่อที่จะเข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว